ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนวัดเขาปิ่นทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1
วันที่ 28 กันยายน 2023 8:46 AM
b-school03
logo-cโรงเรียนวัดเขาปิ่นทอง
หน้าหลัก » นานาสาระ » พูดแบบมืออาชีพ พูดอย่างไรให้น่าฟังกับเทคนิคง่ายๆ

พูดแบบมืออาชีพ พูดอย่างไรให้น่าฟังกับเทคนิคง่ายๆ

อัพเดทวันที่ 4 ธันวาคม 2020 เข้าดู ครั้ง

พูดแบบมืออาชีพ เพียงไม่กี่ขั้นตอน กับวิธีพูดที่น่าสนใจ

พูดแบบมืออาชีพ เป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก ไม่ว่าจ้ะเป็นการพูดในสถานการณ์ หรือสถานะใดๆ ก็ตามล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น ทุกคนเกิดมาล้วนพูดได้  แต่จะมีสักกี่คนที่จะ ”พูดเป็น” ซึ่งหมายถึงการพูดให้คนชอบใจ  เข้าใจ พูดให้คนรักได้ พูดให้คนประทับใจ ซึ่งต้องเหล่านี้ต้องอยู่ที่การฝึกฝนอยู่บ่อยๆ บทความนี้จะนำเนื้อหาเกี่ยวกับการพูดอย่างมืออาชีพในเบื้องต้นมาแนะนำเป็นพื้นฐาน

การพูดในที่ชุมชนต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างบ้าง

1.บุคลิกภาพภายนอก เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะนักพูดต้องตกเป็นเป้าสายตาของผู้ฟังทั้งหมดเพียงคนเดียว ดังนั้นบุคลิกภาพภายนอกที่มองเห็นด้วยตาของนักพูดจะเป็นสิ่งที่ถูกจับจ้องอยู่ตลอดเวลา นักพูดต้องสวมใส่เสื้อผ้าทีเหมาะสมกับผู้ฟังและสถานที่   หน้าตาจะต้องยิ้มแย้มดูสะอาดเรียบร้อย   ตั้งแต่ศีรษะ จรดปลายเท้า 

2.การก้าวขึ้นเวทีครั้งแรกสำคัญที่สุด จำไว้เสมอว่า สำหรับนักพูดช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟัง และทำให้ผู้ฟังจำนักพูดได้ก็คือครั้งแรกที่ก้าวขึ้นแนะนำตัวครั้งแรกก่อนการพูด นักพูดควรสรรหาวิธีการแนะนำตัวที่เหมาะกับบุคลิกภาพตนเอง และสร้างความประทับใจ ความจำนักพูด ให้ได้  ในช่วงการก้าวขึ้นเวทีครั้งแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวที่ดีที่สุดที่ผู้ฟังพร้อมให้ความสนใจแก่นักพูด การพูดครั้งนั้นจะได้รับความสนใจจากผู้ฟังหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการเปิดตัวครั้งแรก เรื่องนี้ต้องฝึก 

2.น้ำเสียง นักพูดจำเป็นต้องรักษาสุขภาพเสียงให้ดีอยู่เสมอ จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการเป็นหวัดที่จะทำให้การพูดมีอุปสรรค เพราะนอกจากจะจะไม่ชวนฟังแล้ว จะทำให้เสียบุคลิกภาพของผู้พูดอีกด้วย นักพูดควรมีน้ำเสียงที่แจ่มใส ชัดเจน ส่วนเรื่องจะใช้น้ำเสียงอย่างไรต้องไปฝึกฝนในขั้นตอนศิลปะการพูดที่สูงขึ้นไปอีก แต่อย่างไรก็ไม่ควรตะโกน หรือพูดเบาจนเกินไป

3.การเตรียมข้อมูล ต้องรู้ก่อนว่าตนเองจะถ่ายทอดเรื่องอะไร ร่างหัวข้อที่อยากจะพูดและหารายละเอียดในเรื่องที่จะพูดนั้นๆอย่างจริงจังและรับผิดชอบ คือข้อมูลที่นำมาพูดต้องถูกต้องและเป็นจริง และมีความทันสมัย แม้จะพูดเรื่องเดิมๆก็อย่าชะล่าใจ ควรUpdate ข้อมูลที่ทันสมัยตลอดเวลา เพราะโดยสถานะนักพูดจะเป็นผู้ป้อนข้อมูลจะเป็นที่มีความน่าเชื่อถืออยู่แล้ว และผู้ฟังส่วนใหญ่ก็จะเชื่อในสิ่งที่นักพูดนำมาถ่ายทอด

4.ศึกษาก่อนว่ากลุ่มบุคลที่มาฟังเป็นใคร อย่างไร? อันนี้สำคัญมาสำหรับนักพูด ที่ต้องรู้กลุ่มผู้ฟัง เพื่อจะได้เตรียมข้อมูลที่เหมาะสมกับผู้ฟัง เพราะหากเตรียมข้อมูลที่ไม่เหมาะสม อาจไม่มีใครฟังในสิ่งที่คุณพูด เพราะมันไม่ตรงกับความสนใจของเขา หรืออาจไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณพูด ไม่รู้เรื่องในสิ่งที่คุณกำลังบอก จะทำให้บรรยากาศในการพูดน่าเบื่อไม่มีความน่าสนใจ จนตัวผู้พูดเองรู้สึกได้และไม่สนุกกับการพูดทำให้พูดได้ไม่ดี 

4.เกม และสันทนาการ เป็นเรื่องที่นักพูดทุกคนต้องเตรียมไว้ เพื่อสร้างบรรยากาศให้ผู้ฟังมีความตื่นตัวมีความกระตือรือร้นที่อยากจะฟัง อย่างไรก็ตามการเตรียมสันทนาการควรเลือกให้เหมาะสมกับวิถีชีวิต วัย เพศ สถานที่ทีเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง เช่นถ้าผู้ฟังเป็นผู้สูงอายุก็ต้อหาเกมที่ไม่ต้องการความเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเกินไป  หรือถ้าผู้ฟังเป็นเด็กก็ต้องหาเกมที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนมาให้เล่น ส่วนเกมหรือ สันทนาการเหล่านี้จะเล่นเมื่อใดก็ควรต้องดูตามสถานการณ์ อย่างเช่น นำเล่นก่อนการบรรยายก็จะทำให้เกิดความตื่นตัวและมีความเป็นกันเองกับผู้พูดมากขึ้น แต่ถ้าเล่นในช่วงพักเบรกขณะการบรรยายก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความกระปรี้กระเปร่า ไม่น่าเบื่อและช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น

พูดแบบมืออาชีพ

5.การสร้างให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ในการพูดในที่ต่างๆ หรือโอกาสจ่างๆ อย่าลืมสร้างบรรยากาศให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการบรรยาย จะทำให้ไม่เกิดความแบ่งแยก เบื่อหน่าย เพราะมนุษย์ทุกคนต้องการเป็นคนสำคัญ การสร้างให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมจะทำให้ผู้ฟังมีความสนใจที่จะฟังผู้พูดโดยอัตโนมัติ เพราะต้องคอยระวังว่าเมื่อไหร่จะถูกดึงเข้าไปมีส่วนร่วม กลัวจะไม่รู้เรื่อง แต่อย่างไรก็สร้างความมีส่วนร่วมที่เป็นธรรมชาติ และสนุกสนาน ไม่จริงจังจนเกินไป จนทำให้ผู้ฟังมีความเกร็ง เหมือนนักเรียนที่นั่งเรียนในห้องเรียน โดยการสร้างการมีส่วนร่วม ผู้พูดสามารถคิดวิธีการที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะพูดมาก่อนได้

6.ย่าลืมเตรียมเรื่องโจ๊ก หรือเรื่องขำขันสำหรับการพูดแต่ละครั้งด้วย โดยต้องเลือกให้เหมาะสมกับกลุ่มคนฟัง เรื่องนี้ต้องระวังมากๆ ที่สำคัญต้องเป็นเรื่องที่ไม่หยาบโลน เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา หรือการเมือง ซึ่งอาจจะไปสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ฟัง  ดังนั้นการรู้ข้อมูลเกี่ยวหับกลุ่มผู้ฟังดังที่พูดมาในข้อ 4 จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวเนื่องในการพูดที่ดีหลายประการ  และการนำเรื่องขำขันมาใช้ในการพูด ทางที่ดีควรมีการฝึกในการเล่าให้คล่อง ฝึกจังหวะจะโคนในการเล่า และการแสดงท่าทางประกอบที่เหมาะสมก็จะดีที่สุด เพราะหากนำเรื่องโจ๊ก หรือเรื่องขำขันมาเล่าแล้วผู้ฟังไม่รู้สึกขำขัน จะทำให้บรรยากาศกร่อย จนผู้พูดเองเสียกำลังใจในการพูด

6.อวัจนภาษา หรือท่าทางการแสดงออกทางกาย ผู้พูดควรศึกษาท่าทางการเดินขึ้นเวที ท่าทางการยืนในขณะพูด การใช้ท่าทางในการประกอบการพูดว่าสิ่งที่ใดที่ควรแสดง หรือสิ่งในที่ไม่ควรแสดง ส่วนนี้หากทำได้ดีจะเสริมบุคลิกภาพให้ผู้พูดดูดีขึ้น หากแสดงท่าทางไม่เหมาะสมก็จะได้รับผลตรงกันข้ามคือทำให้บุคลิกภาพดูแย่ลงไม่มีความน่าเชื่อถือ

7.สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาด กิริยาที่ผู้พูดไม่ควรทำบนเวทีหารพูดอย่างเด็ดขาดคือ หารล้วงแคะ แกะ เกา ในขณะที่พูด เพราะมันจะทำให้ผู้พูด ดูไม่มีมารยาท และไม่ให้เกียรติผู้ฟัง

8.ฝึกการเตรียมคำตอบที่อาจจะเกิดจากการตั้งคำถามของผู้ฟัง การหาทางออกอย่างเป็นธรรมชาติเมื่อไม่สามารถตอบคำถามของผู้ฟังได้ เรื่องนี้สำคัญต่อความน่าเชื่อถือของผู้พูด ผู้พูดควรมีไหวพริบที่ดีในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญข้อหนึ่งของนักพูด

9.ฝึกคำปิดท้ายในการพูดให้น่าประทับใจ คำปิดต้องกระชับไม่ยืดเยื้อแบบจบไม่ลง  นักพูดบางคนพูดดีมาตลอด มาตกม้าตายตอนพูดปิดท้าย ดังนั้นนักพูดควรเป็นผู้ที่เปิดรับความรู้รอบตัวจากภายนอก จากการอ่าน การฟังตลอดเวลา  การดูตลอดเวลา เพื่อมีข้อมูลเป็นขุมทรัพย์ในการพูดในแต่ละครั้งอย่างไม่มีวันหมด

ขอให้เป็นนักพูดที่ดีในทุกๆสถานการณ์ของชีวิตนะคะ

นานาสาระ ล่าสุด