
ดอกไม้ ขึ้นชื่อว่า ดอกไม้ หลายคนได้ยินแล้วคงนึกถึงเรื่องของความสวยงาม สีสันสดใส และกลิ่นหอมๆ บางคนอาจนึกถึงสิ่งที่ใช้ประดับตกแต่งในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะในแจกันที่บ้าน ที่ร้านอาหาร หรือในงานพิธีต่างๆ แต่ใครล่ะจะนึกถึงดอกไม้ในแง่ของการเป็นวัตถุดิบในครัว อยู่บนจานอาหาร หรืออยู่ในแก้วน้ำดื่มได้ด้วย
ใช่แล้วค่ะ ที่จะบอกก็คือ ดอกไม้ยังสามารถเอามากินเป็นอาหารหรือคั้นเอาน้ำมาดื่มก็ได้ด้วย แต่ไม่ใช่ดอกไม้ทุกดอกจะเอามากินได้หมด เพราะหลายชนิดก็มียาง มีขน มีพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้นจึงควรเช็คข้อมูลให้ดีเสียก่อน ว่ามีดอกไม้ชนิดไหนที่กินได้บ้าง ถ้านึกไม่ออก เรามีตัวอย่างดังต่อไปนี้ค่ะ
ดอกไม้สีม่วงอมน้ำเงินแสนสวยที่มีประโยชน์มากมาย เพราะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น จะพบเห็นดอกอัญชัญได้ทั่วไปตามรั้วบ้าน ทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เราสามารถกินดอกอัญชัญได้ทั้งแบบสดๆ หรือจะลวกให้สุกเสียก่อนก็ได้ นิยมกินคู่กับน้ำพริก นอกจากนี้ยังสามารถคั้นเอาน้ำมาทำเป็นสีผสมอาหาร ซึ่งจะได้อาหารสีน้ำเงินม่วงน่าทาน ส่วนดอกอัญชัญตากแห้ง ก็ยังสามารถนำมาต้มทำเป็นเครื่องดื่ม โดยจะต้มใส่น้ำตาลเล็กน้อย หรือจะใส่น้ำมะนาวลงไปด้วยก็ได้
เป็นดอกกุหลาบขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีสีแดง มีกลิ่นหอม เป็นดอกไม้ที่คนนิยมนำมาใช้กันมากในช่วงวันวาเลนไทน์ เพราะเป็นสัญลักษณ์แทนความรัก แต่น้อยคนที่จะรู้ว่ากุหลาบพันธุ์นี้สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ด้วย ซึ่งไม่ใช่กุหลาบทุกพันธุ์ที่กินได้
กุหลาบมอญ นิยมนำมาปรุงอาหารแบบไม่ผ่านความร้อน เช่น เอาไปยำกับเนื้อสัตว์ หรือใส่ในสลัด เพื่อช่วยเพิ่มรสชาติแปลกใหม่และสีสันสะดุดตาให้กับจานอาหาร นอกจากนี้ยังนำดอกที่ตากแห้งมาชงกินเป็นชาก็ได้เช่นกัน มีสรรพคุณเป็นยาระบาย และยังช่วยบำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี
เป็นดอกไม้สารพัดประโยชน์ที่คนนิยมนำมาใช้กันมาก โดยเฉพาะในสมัยก่อน ทั้งใช้ร้อยเป็นมาลัยเพื่อถวายพระ หรือมอบให้กับญาติผู้ใหญ่ และยังนิยมนำมาใส่ในน้ำอบน้ำปรุง ซึ่งเป็นน้ำหอมของคนโบราณ ยิ่งไปกว่านั้นก็สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในขนมและอาหารบางชนิดอีกด้วย โดยนิยมใช้มะลิตูม
นำมาอบในน้ำที่ต้มจนสุกแล้วทิ้งข้ามคืนไว้ เมื่อมาเปิดออกตอนเช้า จะได้กลิ่นหอมสดชื่น สามารถนำมาแช่น้ำดื่ม หรือเอาไปใส่ในอาหารบางอย่าง เช่น ข้าวแช่ และใส่ในขนม ลอยในน้ำกะทิ และน้ำเชื่อม
ส่วนใหญ่คนจะนึกถึงดอกเฟื่องฟ้า ในแง่ของการเป็นตัวแม่ของไม้ประดับ เพราะบ้านไหนๆ ก็มักจะมีต้นเฟื่องฟ้าหลากสีปลูกไว้ในบ้านแทบจะทุกบ้าน คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิดว่าส่วนที่เห็นเป็นสีสันหลากหลาย ทั้งชมพู บานเย็น ส้ม แดง ขาว นั้นคือส่วนที่เป็นดอก แท้จริงแล้วส่วนนั้นคือใบ แต่เป็นใบที่เปลี่ยนสี
และส่วนนี้นี่เองที่สามารถนำมาทำเป็นอาหารกินได้ มีเนื้อสัมผัสที่บางเหมือนกระดาษ บ้างจึงเรียกเฟื่องฟ้าว่าดอกกระดาษ ถ้ากินสดๆ จะมีรสฝาด จึงนิยมนำมาปรุงเสียก่อนโดยการชุบแป้งทอด หรือเอามาเป็นส่วนผสมในอาหารรสจัด เช่น ใส่ในส้มตำหรือยำ มีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ และช่วยเรื่องการขับถ่าย
ชื่ออาจไม่ค่อยคุ้นหูสำหรับคนสมัยนี้ แต่เป็นที่นิยมกันมากในสมัยก่อน ดอกโสนเป็นดอกไม้ขนาดเล็กสีเหลืองสด จะออกมากช่วงฤดูฝนปลายๆ ปัจจุบันจะพบเห็นได้ตามชนบทที่มีพื้นที่ติดน้ำ ดอกมีรสชาติจืดๆ มันๆ อุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และสมอง สามารถนำมาปรุงอาหารได้ด้วยการลวกให้สุกเสียก่อน แล้วกินกับน้ำพริก หรือใส่ในไข่เจียว หรือชุบแป้งทอด นอกจากนี้ยังสามารถนำมาทำเป็นขนมได้อีกด้วย เรียกว่า ขนมดอกโสน
มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ดอกสลิด เป็นดอกไม้เล็กๆ มีสีเขียวปนเหลือง ลักษณะดอกจะรวมกันเป็นช่อ ต้นเป็นเถา อุดมไปด้วยวิตามินที่บำรุงสายตา มีรสออกขมนิดๆ และกรอบอร่อย จะพบได้มากในช่วงฤดูฝน ดอกขจรสามารถนำมาทำอาหารได้หลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นการนำมาลวกกินกับน้ำพริก ยำสด ผัดใส่น้ำมันหอย หรือนำมาใส่ในแกงส้ม
เป็นดอกไม้สีม่วงอ่อนที่ขึ้นชื่อในเรื่องกลิ่น โดยนิยมนำมาสกัดเพื่อเอากลิ่นมาใส่ในน้ำหอมที่ใช้เพื่อการผ่อนคลาย เพราะกลิ่นลาเวนเดอร์มีฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลายได้เมื่อสูดดม นอกจากนี้ยังสามารถใช้ไล่แมลงบางชนิด และรักษาแผลที่เกิดจากแมลงกัดต่อยได้ ดอกลาเวนเดอร์นิยมนำมาตากแห้ง แล้วเอามาชงดื่มเป็นชา ช่วยในการนอนหลับได้ดี และยังสามารถเอามาบดเป็นผงเพื่อนำกลิ่นมาใส่ในอาหารได้ทั้งอาหารคาวและหวาน หรือเบเกอรี่
เป็นดอกไม้สีขาวขนาดเล็กที่มีสีเหลืองอยู่ตรงกลางคล้ายดอกเดซี่ มีรสชาติออกหวาน สมัยก่อนนิยมนำมาใช้ทำเป็นยา เนื่องจากมีสารอะพิจีนีน (Apigenin) ที่ช่วยรักษาอาการอักเสบได้ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณต่อจิตใจ ช่วยให้คลายกังวลได้ จึงนิยมนำดอกตากแห้งมาทำเป็นชาสำหรับดื่มก่อนนอน จะช่วยให้นอนหลับสบาย วิธีการคือต้องชงกับน้ำเดือด แล้วทิ้งไว้สักครู่จนชาส่งกลิ่นหอมออกมา จึงดื่มได้ ข้อแนะนำคือ ให้ดื่มทันทีหลังการชงจะได้ผลดีที่สุด และไม่ควรชงทิ้งไว้ข้ามคืน
ข้อแนะนำเล็กๆ น้อยๆ สำหรับการนำดอกไม้มารับประทาน
อ่านบทความเพิ่มเติม > ผักชี