ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนวัดเขาปิ่นทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1
วันที่ 28 กันยายน 2023 8:02 AM
b-school03
logo-cโรงเรียนวัดเขาปิ่นทอง
หน้าหลัก » นานาสาระ » การเขียนบทความ

การเขียนบทความ

อัพเดทวันที่ 23 ตุลาคม 2020 เข้าดู ครั้ง

การเขียนบทความ หลักที่ดี

การเขียนบทความ หลักการเขียนบทความก่อนที่เราจะเป็นนักเขียนบทความที่ดีได้ แน่นอนว่าเราต้องเคยผ่านอะไรมามากมาย กว่าการที่เราจะเป็นนักเขียนที่ดีได้นั้น เราต้องฝึกฝน หลายๆอย่าง ทั้งการเขียน การอ่าน การสังเกต การใช้คำให้เป็น และต้องคิดหัวข้อต่างๆ เพื่อจะจะใช้ในการเริ่มเขียนบทความแต่ละบท

หลักการเขียนบทความ ปัญหาของนักเขียนบทความ

แน่นอนว่า ก่อนจะมาเป็นนักเขียนบทความได้ ทุกคนย่อมมีความกังวล ส่วนมากนักเขียนบท มือใหม่ก็ชอบคิดมากกันเรื่องต่อไปนี้

  • ไม่รู้ว่า จะทำได้ไหม เพราะไม่เคยทำด้านนี้มาก่อน
  • มักเขียนผิด ใช้คำไม่ถูก และกลัวจะเขียนให้ดีไม่ได้
  • ภาษาในการเขียนไม่น่าอ่าน ไม่รู้ต้องทำเช่นไร
  • หัวข้อในการเขียน ไม่รู้ต้องเริ่มเขียนจากเรื่องอะไร
  • ขี้เกียจ คิดไม่ออก ไม่สามารถทำได้นานๆ

การเขียนบทความ

วันนี้เราเลยมีข้อแนะนำ ในปัญหาแต่ข้อ ของนักเขียนมือใหม่กัน

    • ไม่รู้ว่า จะทำได้ไหม เพราะไม่เคยทำด้านนี้มาก่อน
      ในปัญหาข้อนี้ เชื่อว่านักเขียนมือใหม่ หลาย ๆ คนก็เป็นกันทั้งนั้น เพราะไม่มีนักเขียนคนไหนเป็นมาตั้งแต่เกิด ดังนั้นเราสามารถฝึกได้โดยการ ลองเริ่มจากการเขียนบทความสั้นๆ หรือ ไดอารี่ หรือ ลองเข้าไปอ่านบทความของน่าเขียนคนอื่น ๆ ศึกษาไป ทำไป เราก็จะสามารถพัฒนาไปได้เรื่อยๆ
    • มักเขียนผิด ใช้คำไม่ถูก และกลัวจะเขียนให้ดีไม่ได้
      ข้อนี้ เป็นกันทุกคน สำหรับนักเขียนมือใหม่ แม้ขนาดคนที่ไม่ได้เขียนบทความก็ยังเป็น เพราะคนส่วนใหญ่เคยชินกัน การใช้ภาษาที่ตัวเองถนัด หรือชอบย่อขนาดข้อความให้สั้นลง เราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เพียงคุณต้องเริ่มมีนิสัยที่รักการอ่านมากขึ้น ลองอ่านหนังสือภาษาไทยก่อนเลย เพราะหนังสือภาษาไทยมักมีหลักการในการเขียนเสมอ
    • ภาษาในการเขียนไม่น่าอ่าน ไม่รู้ต้องทำเช่นไร
      หรือที่เรียกว่าภาษาไม่สลวย พอไม่สลวย บทความก็จะไม่น่าอ่าน แต่อย่าลืมนะว่า ภาษาที่เขียนบทความ ไม่จำเป็นต้องบททางการไปหมด ภาษาที่ใช้เขียนบทความขึ้นอยู่กับเรื่องที่เขียนด้วย ดังนั้น ถ้าเราไม่ชอบเขียนบทความที่เป็นทางการ ลองเปลี่ยนเป็นบทความที่สามารถอ่านได้ทุกวัยดูสิ เพราะ ถ้าเราเขียนบทความที่เป็นการเล่าชีวิต หรือ เป็นบทความที่สามารถใช้ภาษาของตัวเอง บทความนั้นจะเป็นบทความที่น่าอ่านมาก เพราะ ถ้าเราเล่าตามความรู้สึกของเราอย่างแท้จริง บทความนั้นจะมีความน่าอ่าน เพราะมันสื่อถึงอารมณ์ของ คนเขียนได้ดีที่สุด อ่านแล้วรู้สึกได้ว่า คนเขียนต้องการสื่ออะไร อารมณ์ไหน
    • หัวข้อในการเขียน ไม่รู้ต้องเริ่มเขียนจากเรื่องอะไร
      หลายๆคนต้องเคยเป็นแน่ ๆ ในบางครั้ง นักเขียนคนที่เคยเขียนกันอยู่แล้ว ก็เคยเป็น แต่หัวข้อนี้สามารถแก้ไขได้นะ ง่ายๆ เลยสำหรับมือใหม่ ลองวิเคราะห์ ปัญหาช่วงนั้นดูหรือดูจากคนรอบข้างว่า กำลังสนใจเรื่องไหนกันอยู่ ถ้าทราบแล้ว ลองเขียนเรื่องนั้น ๆ ดู เพราะผู้คนจะสนใจกันเป็นอย่างมาก และอาจจะมีคนคอยติดตามผลงานของเราต่อก็ได้
    • ขี้เกียจ คิดไม่ออก ไม่สามารถทำได้นานๆ
      เขียนเก่ง กับ เขียนประจำ อะไรดูแล้วดีกว่ากัน แน่นอนว่าต้องเป็น เขียนเป็นประจำ เพราะว่า เขียนเก่งก็จริง แต่อาจจะขี้เกียจเขียน เพราะ ไม่สามารถโฟกัสงานนั้นได้นานๆ ต่างกับคนที่เขียนประจำ เพราะคนที่เขียนประจำ จะสามารถจับจุดตัวเอง ได้และสามารถพัฒนาตัวเองได้เรื่อยๆ การเขียนบทความ ตัวอย่าง เนื่องจากเขียนประจำ คุณไม่จำเป็นต้องเขียนวัน3-4 ชั่วโมง เพียงแค่ฝึกวัน 15-30 นาที เขียนในหัวข้อที่กำลังสนใจดู ทุกๆ วัน คุณก็จะปิ๊งไอเดีย ได้หลายอย่างเลยแหละ

ได้อ่าน ข้างบนกันไปแล้วใช่ไหมละ คุณมีความคิดที่เปลี่ยนไป บ้างแล้วหรือยัง ลองเอาข้อแนะนำข้างบน ไปลองปรับใช้ดู เพื่อที่จะเป็นการพัฒนาตัวเองไปสู่ นักเขียนที่มีคุณภาพ หรือไปสู่อาชีพที่ใฝ่ฝันอย่างเช่น นักเขียนบทความดีที่

นานาสาระ ล่าสุด